วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4

การศึกษาอัตราส่วนของตัวอักษร: Hxpd/กบุั้งไปฏิ์ จาก Google Document shear file from Professor
AAA-font structure แม่แบบโครงสร้างออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ไทย-อังกฤษ
prachid Standard Thai-English CRU-Font Family Structure-distribute1-5
prachid Standard Thai-English CRU-Font Family Structure-distribute2-5
prachid Standard Thai-English CRU-Font Family Structure-distribute3-5
prachid Standard Thai-English CRU-Font Family Structure-distribute4-5
prachid Standard Thai-English CRU-Font Family Structure-distribute5-5


 การศึกษาเพิ่มเติมบนเว็ปไซต์เกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษร(typography)

ตัวอักษร(character): ที่มีลักษณะเหมือนกันหรือเป็นชุดเดียวกันเรียกว่า Fonts เช่น angsana UPC, lily, cordia new, tahoma, arial
ประวัติความเป็นมาของสิ่งพิมพ์เริ่มต้นจากการประดิษฐิ์แท่นโลหะพิมพ์ โดย Johannes Gutenberg ในปี ค.ศ.1440 ทำให้เกิดระบบการพิมพ์เป็นจำนวนมากและการออกแบบตัวอักษรจึงเริ่มมีขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
แท่นพิมพ์ออกแบบโดย Johannes Gutenberg ที่มา: http://pressproject.mtsu.edu
ตัวโลหะที่ใช้เป็นแม่พิมพ์ ที่มา: http://www.aisleone.net
Letterpress_printing[Online]. Available from: http://en.wikipedia.org/wiki/Letterpress_printing[ 2009, July 20]

ส่วนประกอบของตัวอักษร(font anatomy): ปัจจุบันมีองค์กรที่เรียกว่า the international standard organization (ISO) ตั้งอยู่ที่ Geneva ,Switzerland มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานของตัวอักษรที่ใช้ในการพิมพ์ ขนาด ความสูง ลักษณะและรายละเอียดต่างๆของตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ง่าย
ตัวอักษรภายใต้ ISO เน้นประโยชน์ใช้สอย และการใช้งานได้หลากหลาย ที่มา: Matthew Woolman.type detective story
(Switzerland:Rotovision SA). 1997. p.13
ชื่อเฉพาะของส่วนประกอบต่างๆทางด้านการออกแบบตัวอักษร
ส่วนประกอบต่างๆของตัวอักษร ที่มา: Ibid., p. 18
การออกแบบ fonts ต้องคำนึงถึงส่วนประกอบต่างทางด้านของการใช้งาน ซึ่งจะมีผลต่อการอ่านและลักษณะเฉพาะของตัวอักษรนั้น ส่วนระยะที่ใช้ในการออกแบบมีหน่วยวัดเป็น dpi(dot per inch) หมายถึงให้แบ่งย่อยระยะ 1 นิ้วออกเป็นช่องเล็กๆ ซึ่งถูกกำหนดว่า72 dpi = 1นิ้ว พัฒนาเป็นขนาดและนำมาแสดงผลใน Computer  Display และ web page
ลักษณะการแบ่งระยะออกเป็นช่องย่อยๆจำนวน 72 ช่อง ต่อระยะ 1 นิ้ว ที่มา: Ibid., p. 55
มาตรฐานต่างๆที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบตัวอักษร แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่  x- height, capline,
topline, base line และ beardline
ระยะต่างๆในการออกแบบตัวอักษร ที่มา : Ibid., p. 35
ความสูงโดยรวมของฟอนต์วัดจากเส้น beardline จนถึงเส้น top line เช่น fonts ขนาด 72 dpi. จะมีความสูงระยะ beardline จนถึงเส้น top line เป็นระยะ 1 นิ้ว

ประเภทของฟอนต์
1. serif เป็นฟอนต์ทางการพัฒนามาจากรูปแบบอักษรที่เขียนด้วยมือ ลักษณะเด่นอยู่ที่หาง
ที่มา: http://www.identifont.com
2. san serif พัฒนามาจาก serif มีการตัดทอนส่วนของ serif จนดูเรียบง่ายและทันสมัย
ที่มา: http://wikis.lib.ncsu.edu
3. script ตัวอักษรที่เป็นตัวเขียน มีลักษณะแตกต่างกันไปส่วนมากออกแบบให้เอียงเล็กน้อย
ที่มา: http://www.suitcasetype.com
 4. display ตัวอักษรที่ออกแบบโดยเฉพาะให้มีลักษณะแปลกตาเพื่อใช้ในการทำหัวโฆษณา ป้ายประกาศ ไม่เน้นในงานพิมพ์จำนวนมากๆ
ที่มา: http://stylecrave.com/ที่มา: http://farm4.static.flickr.com/ที่มา: http://2.bp.blogsport.com
ลักษณะของ font (type face)
ประเภทตัวธรรมดา(normal/regular)/ ประเภทตัวหนา( bold)/ ประเภทตัวเอียง( italic)/ ประเภทตัวหนาพิเศษ(extra)/ ประเภทตัวบางพิเศษ(light)/ ประเภทตัวกว้างพิเศษ(extended)/ ประเภทตัวแคบพิเศษ(narrow)/ ตัวอักษรแบบมีขอบ(outline)/ ตัวอักษรตัวใหญ่หมด(allcaps)

ลักษณะตัวอักษรของไทย
1. แบบดั้งเดิม หรือแบบมีหัว เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทยแสดงความเป็นทางการ คล้าย serif ใช้ได้กับหัวเรื่องและเนื้อเรื่อง
2. แบบหัวตัด คล้าย sanserif ดูเรียบง่ายใช้กับงานที่ทันสมัย
3. แบบลายมือ เลียนแบบตัวอักษรที่เขียนด้วยมือ สนุกสนาน ไร้กฎเกณฑ์ เหมือนกับแบบ script
4. แบบคัดลายมือ เกิดจากการคัดลายมือด้วยตัวอักษรโบราณที่มีหัวแหลม ให้ความรู้สึกเป็นทางการ พิธีรีตรองหรือ อนุรักษ์นิยม
5. แบบประดิษฐ์ คล้ายแบบ display ใช้ในงานต่างๆเพื่อเรียกร้องความสนใจ ให้ความรู้สึกหลากหลาย

การจัดวางตัวอักษร(spacing): ระยะห่างระหว่างตัวอักษร(letter spacing)/ ระยะห่างระหว่างคำ(word spacing)/ ระยะห่างระหว่างบรรทัด(leading)

การจัดวางหน้ากระดาษ(arranging): วางตัวอักษรเสมอซ้าย(flush left)/ วางตัวอักษรเสมอขวา(flush right)/ วางตัวอักษรตรงกลาง(centered)/ วางตัวอักษรเสมอซ้ายและขวา(justified)/ วางตัวอักษรให้สอดคล้องกับลักษณะของภาพ(contour)/ วางตัวอักษรเป็นรูปร่างตามต้องการ(concrete)/ วางตัวอักษรแบบมีทิศทาง(direction)
ผศ. วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์. บทความรู้ทางการออกแบบพาณิชย์ศิลป์ ออกแบบกราฟฟิก(กรุงเทพฯ:สำนักพมพ์ศิลปาบรรณาคาร). 2540 หน้า 170-176

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...