วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มาตรฐานผลการเรียนรู้หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

มาตรฐานผลการเรียนรู้ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2554
โดย ผศ. ประชิด ทิณบุตร

1.ทักษะคุณธรรมและจริยธรรม ที่ต้องการพัฒนา
1.1 ตระหนักรู้ในคุณค่าและรักษาคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพทางศิลปกรรม
1.2 มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
1.3เป็นผู้รู้และปฏิบัติตามกฏกติกามารยาททางสังคมด้วยความซี่อสัตย์สุจริตและจัดลำดับความสำคัญได้อย่างมีหลักการและเหตุผล
1.4เคารพสิทธิศักยภาพ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล พร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
1.5การเคารพและใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆตามกฏหมายของสังคมอย่างถูกต้อง เป็นธรรม มีส่วนร่วมรับผิดชอบในฐานะของผู้คิดริเริ่ม ผู้สร้างสรรค์ ผู้นำเสนอเผยแผ่และพัฒนาผลงานศิลปกรรมสู่สังคม
1.6เคารพ นับถือ เห็นคุณค่า พิทักษ์รักษา สืบสานประสานผลประโยชน์ ต่อวงการสร้างสรรค์ศิลปกรรมทั้งระดับประเทศและสากลประเทศ

2.ทักษะความรู้ ที่ต้องการเน้น ที่ต้องการพัฒนา
2.1 มีความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาทางศิลปกรรมตามสาขา หรือแขนงที่ศึกษาทั้งในแนวกว้างและลึก
2.2 สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ บูรณาการเนื้อหาและเทคนิควิธีจัดการงาน ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับการใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับกระบวนการคิดสร้างสรรค์
2.3 มีความตระหนักรู้ ความพยายามในการพัฒนาผลงาน ด้วยการใฝ่พัฒนาตน ฝึกฝนทักษะความชำนาญทางศิลปกรรมอย่างต่อเนื่อง
2. 4 สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวิสัยทัศน์ในการทำงานสร้างสรรค์ ให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และผลกระทบของวิทยาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.5.สามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรมร่วมกับความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้

3.ทักษะทางปัญญา ที่ต้องการพัฒนา
3.1.สามารถแสดงผลการคิดวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและจดจำลำดับขั้นตอนวิธีการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างถูกวิธี มีการอรรถาธิบาย ด้วยการใช้สื่อและสาร ผ่านการแสดงออกอย่างชาญฉลาด เหมาะสม งดงามตามวัตถุประสงค์และหลักการทางศิลปกรรมอย่างเป็นระบบ
3.2.สามารถใช้ทักษะชำนาญการทางศิลปกรรมผสานสัมพันธ์กับระดับสติปัญญา เพื่อสื่อแสดงการสืบค้น การเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยการสื่อความหมาย การตีความ การวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างสร้างสรรค์ และอย่างเป็นผู้รู้ตามระดับสติปัญญา
3.3.สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะปฏิบัติการทางวิชาชีพศิลปกรรมและการบริหารจัดการงานด้วยภูมิปัญญาแห่ง ตน ภูมิปัญญาไทยและความรู้ร่วมสมัยสากลได้อย่างเหมาะสม
3.4.มีความสามารถในการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานที่สร้างสรรค์ สู่สาธารณะและสากล หรือเพื่อสร้างโอกาสการอาชีพ ได้อย่างสอดคล้องกับภาวะการณ์ สถานการณ์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี สามารถทำงานเป็นทีม สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและจัดลำดับความสำคัญอย่างมีหลักการและเหตุผล
4.2.มีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในกลุ่มทำงาน ในทุกสถานการณ์ของบทบาทผู้นำและผู้ตาม การควบคุมอารมณ์ การปฏิบัติตนและความรับผิดชอบในภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.มีทักษะในการบริหารจัดการบุคลิกภาพส่วนตน การปรับปรุงตน และกล้าแสดงออกทั้งการคิดและการแสดงออกทางพฤติกรรมในทางสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและรู้รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม
4.4รู้จักวางแผนกิจกรรมและโครงงาน โดยมีความรับผิดชอบในการดำเนินการ การตรงต่อกำหนดเวลานัดหมาย การสรุปผลการเรียนรู้ทั้งของตนเองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับผู้ อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม

5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องการพัฒนา
5.1.มีทักษะความสามารถในการคิดคำนวณต้นทุน-กำไร การกำหนดระยะเวลาการดำเนินการผลิตผลงาน การประมาณราคาค่าวัสดุ การคิดค่าบริการความคิดสร้างสรรค์และการว่าจ้างผลิตผลงาน ตามแบบอย่างการประกอบวิชาชีพหรือการบริการด้านศิลปกรรม
5.2. มีทักษะในการสื่อสาร การสื่อความหมายและการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการใช้ภาษาสัญลักษณ์ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม รูปแบบ และในผลงานที่สร้างสรรค์ไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและทราบกาละ เทศะทั้งแบบโดยตรงและโดยอ้อม
5.3. มีทักษะในการติดต่อสื่อสารทั้งทางการสนทนา การฟัง การอ่าน การแปล การเขียนสรุปประเด็นความคิด และการนำเสนอผลงานตามกระบวนการและขั้นตอนการสร้างสรรค์ ด้วยภาษาไทยและหรือภาษาสากล เพื่อการติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องด้านการวางแผน อำนวยการ การบริหารจัดการงานในสายงานการผลิต การจัดจำหน่ายและหรือการบริการ ได้เหมาะสมกับความรับผิดชอบของภาระงาน
5.4.มีทักษะการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมและ ร่วมสมัย รู้จักปรับประยุกต์ใช้ เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการคิด กระบวนการสร้างสรรค์ กระบวนการนำเสนอและเผยแผ่ได้อย่างเหมาะสมและอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

6.ทักษะปฏิบัติการทางวิชาชีพศิลปกรรม ที่ต้องการพัฒนา
6.1 มีทักษะฝีมือ ความถนัดและความชำนาญพิเศษทางศิลปกรรม ในศาสตร์สาขาหรือรายวิชาเฉพาะที่สนใจศึกษาเชิงลึก สามารถร้างสรรค์ผลงานตามประเภทงานวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
6.2 มีทักษะและประสบการณ์การใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ เพื่อสนับสนุนกระบวนการคิดออกแบบ เขียนแบบ กระบวนการผลิตและกระบวนหลังการผลิต โดยสามารถปรับประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ผลงานและบูรณาการได้หลากหลายระบบตาม ศักยภาพและความพร้อม
6.3 มีทักษะในการนำเสนอรายงาน การจัดแสดงผลงานและสร้างแฟ้มสะสมผลงานโดยใช้รูปแบบ วิธีการเครื่องมือ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
6.4 มีทักษะในการออกแบบ ปฏิบัติ พัฒนา และนำเสนอ โครงงาน การพัฒนาทักษะวิชาชีพตามความสนใจ ความถนัด และตามวิถีระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Present News PicPick Editor

PicPick Editor Version 3.0.9

Photo by jetsupa Charenu

โปรแกรม PicPick เต็มไปด้วยคุณสมบัติสำหรับการสร้างและแก้ไขภาพ ซึ่งเหมาะสำหรับ
นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักออกแบบกราฟฟิกและผู้ใช้ทั่วไป

เป็นโปรแกรมที่รวมรูปแบบของเครื่องมือในการจับภาพหน้าจอ เครื่องมือสามารถใช้งานได้ง่ายสำหรับ
การแก้ไขรูปภาพ มีทั้งตัวเลือกสี จานสี ไม้บรรทัด รวมถึงไวท์บอร์ดด้วย

PicPick นอกจะเป็นโปรแกรมที่รวบรวมเครื่องมือสำหรับการออกแบบขั้นพื้นฐานแล้ว ยังช่วยประหยัด
เนื้อที่ในการติดตั้งบนดิสก์ รวมทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

ซอฟต์แวร์นี้เป็นซอฟต์แวร์ฟรีใช้สำหรับส่วนบุคลและเพื่อการศึกษา ในกรณีที่่จะใช้โปรแกรมในเชิงพาณิชย์
จะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์



- เป็นโปรแกรมสำหรับ Windows และรองรับการทำงานของ Windows7 อย่างเต็มรูปแบบ
- สามารถรองรับภาษาได้มากกว่า 28 ภาษา
- ฟังก์ชันทั้งหมดรองรับการทำงานของหน้าจอแบบ dual screen
- Registry ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบได้ ทำให้สามารถคัดลอกไฟล์ไปยัง USB แบบพกพาได้


ความสามารถของโปรแกรม

การจับภาพหน้าจอ: มีให้เลือกหลายรูปแบบด้วยกัน คือ เต็มหน้าจอ เฉพาะหน้าต่างที่ใช้งาน
แบบกำหนดพิกเซลและแบบฟรีแฮนด์

การแก้ไขรูปภาพ: มีเครื่องสำหรับการวาดขั้นพื้นฐาน เช่น รูปทรง เส้น ตาราง และรวมถึงเอฟเฟกต์ต่างๆ
เช่น การปรับความสว่างของภาพเป็นต้น

โหมดสีและจานสี: มีให้เลือกทั้งโหมด RGB และ HTML นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดเองได้

มีแว่นขยาย/ไม้บรรทัด/ไม้โปรแทรกเตอร์: ใช้ในการออกแบบและคำนวณ


ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม: การจับภาพหน้าจอแบบฟรีแฮนด์และตกแต่งเพิ่มเติม

Photo by Jetsupa Charenu

การศึกษาการใช้โปรแกรมเบื้องต้น

 

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 11

WEBSITE DESIGN

Site คือ ที่สำหรับจัดเก็บเอกสารหลายหน้า เช่น ไฟล์ document photo และอื่นๆ

http://arti3319.blogspot.com/








สรุปความ:

website design คือ การวางแผนการสร้างเว็ปไซต์ ซึ่งจะประกอบไปด้วยข่าวสารประชาสัมพันธ์ การติดต่อระหว่างผู้ใช้ ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเว็ปไซต์ โครงสร้างต่างๆของเว็ปไซต์ ได้แก่ แถบนำทาง รูปแบบเลย์เอาท์ สี อักษร ภาพประกอบและมีเดียต่างๆ ทั้งหมดจะรวมอยู่ในการวางแผนตามเป้าหมายของนักออกแบบ

การศึกษา wordpress:

ทำการเปิดใช้งานหรือสมัครสมาชิกที่ www.wordpress.com
จากนั้นอธิบายแนะนำตัวเองในหัวเรื่องแรก

photo by Jetsupa Charenu
การศึกษาคำศัพท์เพิ่มเติม

www:

เวิลด์ไวด์เว็บ (อังกฤษ: World Wide Web, WWW, W3 ; หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "เว็บ") คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนด URL คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต โดยจริงๆแล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต

มาตรฐานที่ใช้ในเว็บ

มาตรฐานหลักที่ใช้ในเว็บประกอบด้วย 3 มาตรฐานหลักดังต่อไปนี้:
  • Uniform Resource Locator (URL) เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจแต่ละหน้า
  • HyperText Transfer Protocol (HTTP) เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ และเซิร์ฟเวอร์
  • HyperText Markup Language (HTML) เป็นตัวกำหนดลักษณะการแสดงผลของข้อมูลในเว็บเพจ
องค์กร World Wide Web Consortium (W3C) พัฒนาและดูแลระบบมาตรฐานหลัก และมาตรฐานอื่นๆ ที่ใช้กันในเวิลด์ไวด์เว็บ

http/https:

HTTP ย่อมาจาก Hypertext Transport Protocol เป็นโปรโตคอลสื่อสารที่ทำงานอยู่บนระบบโปรโตคอล TCP HTTP ใช้ในระบบเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web [www]) ซึ่งมีหน้าที่ต่างๆ
 - เป็นกลไก หรือโปรโตคอลหลักที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่าง Server และ Client ของ World Wide Web(www)
 - กำหนดที่ตั้งทรัพยากรที่สอดคล้องกัน (Uniform Resoure Locators : URLs)
 - ผู้เขียนเว็บสามารถฝังจุดเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ในเอกสารในเว็บHTTP เป็น protocol ที่อยู่ในส่วนของ Application Layer โดย DATA ต่าง ๆ จาก Layer นี้จะถูกจากส่งผ่านไปยัง Layer อื่น ๆ ที่ต่ำกว่า
 - มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบภาษา HTML (HyperText Markup Language) โดยทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันบน www
 - HTTP จะทำงานที่พอร์ต 80
 - ส่งข้อมูลเป็นแบบ Clear text คือ ข้อมูลที่ทำการส่งไปนั้น ไม่ได้ทำการเข้ารหัส ทำให้สามารถถูกดักจับข้อมูลนั้นได้โดยง่าย
 - มาตรฐานของ HTTP ปัจจุบันคือ HTTP 1.1 ซึ่งใ้ช้กันอย่างกว้างขวาง

HTTPS ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol over Secure Socket Layer หรือ HTTP over SSL
     - HTTPS ระบุถึงการเชื่อมต่อแบบ Secure HTTP  เรียกใช้ด้วยรูปแบบ https:”//
     - HTTPS จะทำงานที่พอร์ต TCP443 ออกแบบโดยบริษัท Netscape
     - ทำงานโดยการเพิ่มข้อมูลในการระบุตัวผู้ส่ง ( Authentication) และการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ภายใน HTTP กับ TCP
     - ในการส่งข้อมูลจะเป็นแบบ HTTP แต่จะมีการเข้ารหัสเป็นแบบ SSL  128 bit โดยการเข้ารหัสนี้เปรียบได้กับการสร้าง VPN เพื่อไปหา Web Server
     - โปรโตคอล HTTPS สร้างเพื่อความปลอดภัยสำหรับการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
     - การใช้งาน HTTPS  Administrator สร้าง Public Key Certificate สำหรับเว็บเซิร์ฟเวอร์
     - สร้างโดยใช้ OpenSSL ssl-ca
     - ทำการ Sign โดย Certificate Authority เพื่อยืนยันตัวตนว่าเป็น certificate จากเซิร์ฟเวอร์
     - เว็บบราวเซอร์ตรวจสอบ certificate ได้จาก root certificate ซึ่งติดตั้งอยู่ในเว็บบราวเซอร์
     - นิยมใช้กับ Web ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น พวก Web ของธนาคาร การเงินต่างๆ หรือข้อมูลส่วนของราชการ เป็นต้น
     - https ส่งข้อมูลเป็นแบบ Cipher text คือ ข้อมูลที่ทำการส่งได้ถูกเข้ารหัสเอาไว้ โดยใช้ Asymmetric Algorithm ซึ่งถ้าถูกดักจับได้แต่ก็ไม่สามารถที่จะอ่านข้อมูลนั้นได้รู้เรื่อง โดยข้อมูลนั้นจะถูกอ่านโดยตัวเรากับเครื่อง Server เท่านั้น
     - การมีระบบแบบนี้ถือว่าดี แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการเข้าดูข้อมูล เนื่องจากจะต้องระบุตัวบุคคล คล้ายๆกับการ login

SSL ย่อมาจาก Secure Sockets Layer 
SSL คือ เครื่องหมายรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกหรืออนุมัติโดย CA (Certificate Authority)

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 5

ฟังการนำเสนอรายงานข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการออกแบบเรื่อง Stereoscopic Player ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับเปลี่ยนการทำหนังที่เป็นแบบธรรมดาให้มีความน่าสนใจในแบบ 3D

งานสัปดาห์หน้าในไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบในงาน BIO เพื่อนำมาทำ Report และสรุปลงใน Blog โดยจะศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆดังนี้ ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้สำหรับการออกแบบ/การโฆษณา ป้าย บูสต์/fonts ที่ใช้ในงาน/logo brands พร้อมเก็บตัวอย่างบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐาน

การบ้าน: แม่แบบ 2 แบบ ไทยและอังกฤษ โดยตัวงานมี 2 version คือ Start  version(ลายมือตัวเอง) และ New version(Design) พร้อมทั้งทำ Report ประกอบ
* Character ทั้งหมดมี 243 ตัว

สัปดาห์ที่ 4

การศึกษาอัตราส่วนของตัวอักษร: Hxpd/กบุั้งไปฏิ์ จาก Google Document shear file from Professor
AAA-font structure แม่แบบโครงสร้างออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ไทย-อังกฤษ
prachid Standard Thai-English CRU-Font Family Structure-distribute1-5
prachid Standard Thai-English CRU-Font Family Structure-distribute2-5
prachid Standard Thai-English CRU-Font Family Structure-distribute3-5
prachid Standard Thai-English CRU-Font Family Structure-distribute4-5
prachid Standard Thai-English CRU-Font Family Structure-distribute5-5


 การศึกษาเพิ่มเติมบนเว็ปไซต์เกี่ยวกับการออกแบบตัวอักษร(typography)

ตัวอักษร(character): ที่มีลักษณะเหมือนกันหรือเป็นชุดเดียวกันเรียกว่า Fonts เช่น angsana UPC, lily, cordia new, tahoma, arial
ประวัติความเป็นมาของสิ่งพิมพ์เริ่มต้นจากการประดิษฐิ์แท่นโลหะพิมพ์ โดย Johannes Gutenberg ในปี ค.ศ.1440 ทำให้เกิดระบบการพิมพ์เป็นจำนวนมากและการออกแบบตัวอักษรจึงเริ่มมีขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
แท่นพิมพ์ออกแบบโดย Johannes Gutenberg ที่มา: http://pressproject.mtsu.edu
ตัวโลหะที่ใช้เป็นแม่พิมพ์ ที่มา: http://www.aisleone.net
Letterpress_printing[Online]. Available from: http://en.wikipedia.org/wiki/Letterpress_printing[ 2009, July 20]

ส่วนประกอบของตัวอักษร(font anatomy): ปัจจุบันมีองค์กรที่เรียกว่า the international standard organization (ISO) ตั้งอยู่ที่ Geneva ,Switzerland มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานของตัวอักษรที่ใช้ในการพิมพ์ ขนาด ความสูง ลักษณะและรายละเอียดต่างๆของตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ง่าย
ตัวอักษรภายใต้ ISO เน้นประโยชน์ใช้สอย และการใช้งานได้หลากหลาย ที่มา: Matthew Woolman.type detective story
(Switzerland:Rotovision SA). 1997. p.13
ชื่อเฉพาะของส่วนประกอบต่างๆทางด้านการออกแบบตัวอักษร
ส่วนประกอบต่างๆของตัวอักษร ที่มา: Ibid., p. 18
การออกแบบ fonts ต้องคำนึงถึงส่วนประกอบต่างทางด้านของการใช้งาน ซึ่งจะมีผลต่อการอ่านและลักษณะเฉพาะของตัวอักษรนั้น ส่วนระยะที่ใช้ในการออกแบบมีหน่วยวัดเป็น dpi(dot per inch) หมายถึงให้แบ่งย่อยระยะ 1 นิ้วออกเป็นช่องเล็กๆ ซึ่งถูกกำหนดว่า72 dpi = 1นิ้ว พัฒนาเป็นขนาดและนำมาแสดงผลใน Computer  Display และ web page
ลักษณะการแบ่งระยะออกเป็นช่องย่อยๆจำนวน 72 ช่อง ต่อระยะ 1 นิ้ว ที่มา: Ibid., p. 55
มาตรฐานต่างๆที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบตัวอักษร แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่  x- height, capline,
topline, base line และ beardline
ระยะต่างๆในการออกแบบตัวอักษร ที่มา : Ibid., p. 35
ความสูงโดยรวมของฟอนต์วัดจากเส้น beardline จนถึงเส้น top line เช่น fonts ขนาด 72 dpi. จะมีความสูงระยะ beardline จนถึงเส้น top line เป็นระยะ 1 นิ้ว

ประเภทของฟอนต์
1. serif เป็นฟอนต์ทางการพัฒนามาจากรูปแบบอักษรที่เขียนด้วยมือ ลักษณะเด่นอยู่ที่หาง
ที่มา: http://www.identifont.com
2. san serif พัฒนามาจาก serif มีการตัดทอนส่วนของ serif จนดูเรียบง่ายและทันสมัย
ที่มา: http://wikis.lib.ncsu.edu
3. script ตัวอักษรที่เป็นตัวเขียน มีลักษณะแตกต่างกันไปส่วนมากออกแบบให้เอียงเล็กน้อย
ที่มา: http://www.suitcasetype.com
 4. display ตัวอักษรที่ออกแบบโดยเฉพาะให้มีลักษณะแปลกตาเพื่อใช้ในการทำหัวโฆษณา ป้ายประกาศ ไม่เน้นในงานพิมพ์จำนวนมากๆ
ที่มา: http://stylecrave.com/ที่มา: http://farm4.static.flickr.com/ที่มา: http://2.bp.blogsport.com
ลักษณะของ font (type face)
ประเภทตัวธรรมดา(normal/regular)/ ประเภทตัวหนา( bold)/ ประเภทตัวเอียง( italic)/ ประเภทตัวหนาพิเศษ(extra)/ ประเภทตัวบางพิเศษ(light)/ ประเภทตัวกว้างพิเศษ(extended)/ ประเภทตัวแคบพิเศษ(narrow)/ ตัวอักษรแบบมีขอบ(outline)/ ตัวอักษรตัวใหญ่หมด(allcaps)

ลักษณะตัวอักษรของไทย
1. แบบดั้งเดิม หรือแบบมีหัว เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทยแสดงความเป็นทางการ คล้าย serif ใช้ได้กับหัวเรื่องและเนื้อเรื่อง
2. แบบหัวตัด คล้าย sanserif ดูเรียบง่ายใช้กับงานที่ทันสมัย
3. แบบลายมือ เลียนแบบตัวอักษรที่เขียนด้วยมือ สนุกสนาน ไร้กฎเกณฑ์ เหมือนกับแบบ script
4. แบบคัดลายมือ เกิดจากการคัดลายมือด้วยตัวอักษรโบราณที่มีหัวแหลม ให้ความรู้สึกเป็นทางการ พิธีรีตรองหรือ อนุรักษ์นิยม
5. แบบประดิษฐ์ คล้ายแบบ display ใช้ในงานต่างๆเพื่อเรียกร้องความสนใจ ให้ความรู้สึกหลากหลาย

การจัดวางตัวอักษร(spacing): ระยะห่างระหว่างตัวอักษร(letter spacing)/ ระยะห่างระหว่างคำ(word spacing)/ ระยะห่างระหว่างบรรทัด(leading)

การจัดวางหน้ากระดาษ(arranging): วางตัวอักษรเสมอซ้าย(flush left)/ วางตัวอักษรเสมอขวา(flush right)/ วางตัวอักษรตรงกลาง(centered)/ วางตัวอักษรเสมอซ้ายและขวา(justified)/ วางตัวอักษรให้สอดคล้องกับลักษณะของภาพ(contour)/ วางตัวอักษรเป็นรูปร่างตามต้องการ(concrete)/ วางตัวอักษรแบบมีทิศทาง(direction)
ผศ. วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์. บทความรู้ทางการออกแบบพาณิชย์ศิลป์ ออกแบบกราฟฟิก(กรุงเทพฯ:สำนักพมพ์ศิลปาบรรณาคาร). 2540 หน้า 170-176

สัปดาห์ที่ 3

การฟังรายงานข่าวเทคโนโลยีที่ใช้ในการออกแบบ เรื่อง การใช้ Motion Capture
อธิบายเกี่ยวกับชนิดของฟอนต์: Angsana New(Thai fonts)/Time Romanc(English fonts)
เว็ปที่ใช้สำหรับฝึกหัดการทำฟอนต์: kern method.com
การศึกษาฟอนต์จากตัวอักษร: Hxpd

การบ้าน: 1) Fontself
             2) ให้เขียนฟอนต์ลายมือโดยใช้ปากกาเส้นดำหัวใหญ่ หรือปากกาหัวตัด ทั้งตัวอักษรไทยและอังกฤษลงในแบบฟอร์มที่อาจารย์แชร์ให้อย่างละ 3 แผ่น จากนั้นคัดเลือกมาอย่างละ 1 แผ่น นำมาสแกน(300dpi) แล้วทำต่อด้วยโปรแกรม High Logc Font Creator/Font Lab Pro
Download Thai Fonts CRU:www.google.com/site/arti2305/fontfile
Font ลายมือเผยแพร่ที่: font space.com

อธิบายการใช้งาน Fontself และการอัปโหลดไฟล์ขึ้นบนเว็ป โดย Google Document shear file from Professor (file:DoccumentMasterFormkittipongWamontri5321300112)
 (file:DoccumentMasterFormkittipongWamontri5321300112)

อธิบายเกี่ยวกับเรื่อง:thaiUnicode from Google Document shear file




Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...